แหวนพิรอด 9 ยอด หลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน กทม.

ราคา / สถานะ :
โทรถาม
ชื่อร้าน โสฬสมงคล
ประเภทร้าน SHOP
เบอร์โทร 089 1435795
Line ID boonchx
จำนวนผู้ชม 58
ดูพระทั้งหมดในร้านค้า
ข้อควรระวัง ในการเช่าพระผ่านเว็ปไซต์

ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย

หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง

ทางเวปเป็นสื่อกลาง ไม่มีส่วนในการเช่าพระ
กรุงเทพมหานคร 27 เมษายน 2567 14:09 PM
ชื่อพระ :

แหวนพิรอด 9 ยอด หลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน กทม.


รายละเอียดพระ :

แหวนพิรอด 9 ยอด หลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน กทม.

แหวนพิรอด หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน กทม
ดังจะผูกเป็นวลี 9 ทางดังนี้ ชาตรี - แคล้วคลาด - กันภัย - มหาระงับ - ดับทุกข์ - สุขล้น - พ้นสงสาร - การงานรุ่ง -พยุงดวง
ยอดที่ 1 ชาตรี : โดนของหนัก ของเบา ของแหลม ของคม ไม่ระคายผิว
ยอดที่ 2 แคล้วคลาด : ศัตรูหมู่มารเหตุเพศภัยอันใดแคล้วคลาดผ่านพ้นจากเราไปหมด
ยอดที่ 3 กันภัย : ภัยจากทิศทั้ง 4 บนบก บนน้ำ บนอากาศ ทำอันตรายเรามิได้
ยอดที่ 4 มหาระงับ : ดับเรื่องร้อนเลวร้ายขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นความเป็นคดี ระงับดับหมดทุกเรื่อง
ยอดที่ 5 ดับทุกข์ : ทุกข์ภัยที่เกิดกับตัวลำบากยากจนหน้าดำคล้ำหมอง หายจืดจางไป
ยอดที่ 6 สุขล้น : ทวีความผาสุก เกษมสำราญ ทั้งสุขภาพจิต สุขภาพใจ
ยอดที่ 7 พ้นสงสาร : จิตเกาะเกี่ยวกับธรรมคุณความดีงาม ละชั่วประพฤติเลว ทำดีตลอดไป
ยอดที่ 8 การงานรุ่ง : หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า เจ้านายรัก ลูกน้องหนุน เพื่อนร่วมงานดี
ยอดที่ 9 พยุงดวง : แก้ทุกข์ภัยจากการกระทำของดวงตก ดวงไม่ดี เคราะห์เวรกรรม บรรเทาลงโดยพลัน

ขนาดของแหวนวงนี้ สวมเข้าได้กับนิ้วกลาง( มือซ้าย )ของผมได้พอดี
ด้านในเป็นผ้าห่อศพขอดเป็นตัวแหวน จุ่มรัก รักออกแดง เคยปิดทองไว้แต่เดิม มีมองเห็นทองที่ปิดไว้บางส่วน
แหวน วงนี้ สภาพรักมี 2 ลักษณะคือ บางส่วนเป็นรักตายและบางส่วนเป็นรักเป็น สำหรับภาพขยายที่นำมาลงให้ชม เป็นลักษณะของผิวรักเป็น ซึ่งจะมีลักษณะแบบเดียวกับผิวรักที่มีอายุ 100ปี คือมีการแตกของผิวรักเป็นเส้นใยตารางอยู่บางส่วน

ประวัติ หลวงปู่หรุ่น เก้ายอด
หลวงพ่อหรุ่น คือฉายานาม “เก้ายอด” ที่ได้รับมาจากชื่อเสียงในด้านการสักยันต์ พลิกแฟ้มข้อมูลของหลวงพ่อหรุ่น มีระบุเพียงว่า เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๐ ที่บ้านตำบลเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายน้อย ใจอาภา และ นางคำ ใจอาภา

อุปสมบท ณ วัดลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ปีที่ท่านอุปสมบทนั้น เป็นปี พ.ศ.๒๔๓๑ มีพระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่ “พระธรรมราชานุวัตร” เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์นั้น เป็นที่ถกเถียงกัน บ้างก็ว่าเป็นพระวัดลำลูกกานั้นเอง บ้างก็ว่าเป็นวัดกลางนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้างก็ว่าเป็นพระวัดสามไห แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดลำลูกกามากกว่า

พระเกจิอาจารย์ยุคโบราณ จอมขมังเวทย์วิทยาคมสุดยอดอาคมเข้มขลัง ชื่อเสียงโด่งดังสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ ท่านเก่งกล้าวิชาอาคมตั้งแต่เป็นฆราวาส เคยเป็นเสือเก่าแต่กลับตัวกลับใจมาบวชเป็นพระ ในสมัยนั้นไม่มีใครสามารถปราบเสือหรุ่นลงได้ ท่านมีวิชาผูกหุ่นลวงให้เจ้าหน้าที่ยิงและจับมานับครั้งไม่ถ้วน และตัวเองก็สามารถหลบหนีจากเงื้อมมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปได้ทุกครั้ง ในเวลาต่อมาท่านได้กลับใจเป็นคนดีเข้ามาช่วยราชการ จนได้รับพระราชทานยศเป็น ขุนกาวิจลใจภารา ต่อมามีเหตุการณ์ให้ต้องออกจากราชการหนีมาบวชพระ ต่อมาท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาสักยันต์เก้ายอด ในสมัยนั้นในวงการนักเลงคนจริง ไม่มีใครไม่รู้จัก เรียกว่า “นักเลงเก้ายอด”

ในอดีตนั้นย้อนไปซักประมาณปี ๒๔๐๐ ต้นฯ เมืองกรุงเทพหรือจังหวัดพระนครในสมัยนั้น มีก๊กนักเลงอยู่หลายก๊กด้วยกัน ที่ขึ้นชื่อก้อมี ลูกศิษย์หลวงพ่อโม วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) มีถิ่นอยู่แถวเยาวราช – วงเวียน ๒๒กรกฎา แถววรจักร ก้อมีศิษย์หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร บางขุนพรม มีอาวุธประจำกายคือ ไม้ตะพดของหลวงปู่ภู หรือที่เรียกว่านิ้วเพชรพระอิศวร ว่ากันว่าหากใครโดนหัวไม้ตะพดตีนั้น อาจถึงแก่ชีวิต หลวงปู่ภูท่านจึงบอกศิษย์อยู่เสมอว่าอย่าใช้หัวไม้ตีใคร มันจะบาปตัวท่านเองด้วย

ที่จะพูดถึงคือ แก๊งเก้ายอด ลูกศิษย์ของหลวงพ่อหรุ่น ใจภารา วัดอัมพวัน ราชวัตร กรุงเทพมหานคร หลวงพ่อหรุ่นท่านนี้แต่เดิมเป็นเสือเก่า ออกปล้นแถบ ปทุมธานี – อยุธยา จนมีชื่อเสียงเป็นที่เกรงกลัวไปทั่ว ฉายาของท่านคือ เสือหรุ่นแห่งเชียงราก ภายหลังนั้นท่านได้เบื่อกับการปล้นจึงขอมอบตัวกับทางการ จึงได้รับตำแหน่งกำนันจากนายอำเภอสมัยนั้น เป็นขุนวิกลใจภารา ชาวบ้านรักใคร่นับถือท่านทุกคน

ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ ๔๐ กว่าปีได้เกิดความเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส จึงออกบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน ราชวัตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ ได้สร้างเครื่องรางคือตะกรุดกระดูกห่านและเหรียญซึ่งหายากมากจริงฯ หลวงพ่อหรุ่นท่านสักยันต์เก้ายอดให้แก่ศิษย์ ต่อมาภายหลังจึงได้มอบวิชานี้ให้กับอาจารย์ภู่ ซึ่งถือว่าเป็นศิษย์เอกที่ได้รับวิชาสักนี้ไป หลวงพ่อหรุ่นท่านมีบุตรชายคนโตชื่อ นายเสงี่ยม ใจภารา มีตำแหน่งเป็นทหารม้ารักษาพระองค์ภายหลังได้เป็นมหาดเล็กใน เสด็จเตี่ย (พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) สมัยก่อนแก๊งเก้ายอดนี้มีถิ่นอยู่แถวนางเลิ้ง,ไปจนถึงดุสิต

นายหรุ่น ใจภารา

ล.พ.หรุ่น เก้ายอด เดิมชื่อ ตาหรุ่น ใจภารา เป็นคนเกิดในตำบลเชียงราก จังหวัดอยุธยา บิดาชื่อ นายน้อย ใจภารา และมารดาชื่อ นางคำ ใจภารา ซึ่งตั้งรกรากทำนามาแต่บรรพบุรุษ ในตำบลเชียงรากนั่นเอง นายหรุ่นไม่เคยสนใจในการทำนา และไม่เคยช่วยบิดามารดาทำงานเลย สนใจแต่เพียงว่า มีพระเกจิอาจารย์องค์ใดที่เก่งกล้าในวิชาอาคมทางไสยศาสตร์อยู่ที่ไหน เป็นต้องหนีออกากบ้านไปครั้งละหลายวัน บางครั้งก็เป็นเดือน เพื่อขอร่ำเรียนวิชาต่างๆ ทำความอิดหนาระอาใจให้แก่นายน้อยและนางคำเป็นอย่างยิ่ง

ครั้นอยู่ต่อมา ทั้งบิดาและมารดาเห็นว่าจะเลี้ยงลูกคนนี้ไว้ไม่ได้แล้ว จึงได้ปรึกษากันและกล่าวว่า ถ้าเอ็งไม่ช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ข้าทั้งสองคนก็เห็นจะเลี้ยงเอ็งต่อไปไม่ได้ เพราะเอ็งเอาแต่เที่ยวเตร่อย่างเดียว

นายหรุ่นเป็นคนที่ทิฐิมานะแรงกล้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงก้มลงกราบพ่อแม่และพูดว่า ถ้าชีวิตยังไม่ตายเสียก่อน จะกลับมาสนองพระคุณพ่อแม่ให้ได้ต่อไป พร้อมทั้งรวบรวมเสื้อผ้าข้าวของที่มีอยู่ใส่ย่ามและลงเรือนหายสาบสูญไปเป็นเวลานานโดยไมมีข่าวและวี่แววอีกเลย

จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๒๕ เสือหรุ่น ใจภารา ปรากฏตัวขึ้น โดยปล้นและฆ่าเจ้าทรัพย์มานับเป็นร้อยๆ ราย ตลอดทุกตำบลในจังหวัดอยุธยา และตำบลอื่นๆ ไม่มีใครทีจะสามารถปราบปรามเสือหรุ่นลงได้ แม้แต่กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะเสือหรุ่นผู้นี้แก่กล้าวิชาอาคม สามารถผูกหุ่นลวงให้เจ้าหน้าที่ยิงและจับมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน และตัวเองก็สามารถหลบหนีจากเงื้อมมือของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ในสมัยนั้นไปได้ทุกครั้ง ทำความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่เจ้าหน้าที่ไปตามๆ กัน ทางการสมัยนั้นยังไม่รุ่งโรจน์พอ เครื่องมืออาวุธยุทธภัณฑ์ก็ล้าสมัย เจ้าหน้าที่ก็มีน้อย อีกทั้งยานพาหนะก็ไม่เคยปรากฏว่ามีกันเลย จนถึงกับพูดกันในสมัยนั้นว่า นักเลงโตกว่าตำรวจ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่สามารถปราบเสือหรุ่นได้

กิติศัพท์ของเสือหรุ่นสมัยนั้นเลื่องลือไปจนกระทั่งชาวบ้านทุกๆ ตำบลของจังหวัดอยุธยาพากันนอนตาไม่หลับ จนกระทั่งนายอำเภอได้เขียนประกาศติดไวในที่ต่างๆ ให้เสือหรุ่นเข้าพบ โดยมีข้อแม้ว่า ให้เสือหรุ่นมาเพียงคนเดียวและห้ามพกอาวุธ พบกันที่บ้านพักนายอำเภอ จะได้เจรจากันเพื่อเข้ารับราชการต่อไป โดยจะไม่เอาความผิดในครั้งที่แล้วๆ มา

เมื่อเสือหรุ่นได้ทราบหนังสือประกาศของนายอำเภอแล้ว จึงรีบเดินทางมาพบนายอำเภอทันที เพื่อมอบตัวหวังกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี

แต่เสือหรุ่นติดกับนายอำเภอเสียแล้ว เพราะนายอำเภอจัดเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน พร้อมทั้งอาวุธปืนรายล้อมบริเวณนั้นไว้อย่างหนาแน่น

เสือหรุ่นได้เดินทางตรงมายังบ้านพักนายอำเภอเพื่อหวังเจรจากัน เมื่อใกล้จะถึงบ้านพัก เสือหรุ่นได้ยินเสียงนายอำเภอตะโกนมาว่า เสือหรุ่นจงหยุดอยู่กับที่ และยอมมอบตัวเสียแต่โดยดี มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่และชาวบ้านที่รายล้อมอยู่รอบตัวเสือหรุ่นจะยิงทันที

เสือหรุ่นเมื่อรู้ตัวว่าถูกลวง ก็มิได้สะทกสะท้านแต่ประการใด นึกแค้นใจนายอำเภอเป็นที่สุด จึงสำรวมใจเป็นสมาธิ แล้วภาวนาคาถาที่ได้เคยร่ำเรียนมา ผูกเป็นหุ่นลวงพวกนายอำเภอไว้ และหนีฝ่าวงล้อมรอดไปได้

นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เสือหรุ่นได้ทวีการปล้นฆ่าหนักยิ่งขึ้น จนเจ้าเมืองอยุธยาได้เรียกประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลต่างๆ มาพบ และปรึกษาหารือกันว่า เสือหรุ่นนี้ยากแก่การปราบปราม อยากจะเกลี้ยกล่อมให้เสือหรุ่นกลับใจเข้ารับราชการเสีย จึงเขียนประกาศด้วยตัวของเจ้าเมืองเอง ให้เสือหรุ่นมาพบกับท่านโดยตรง โดยท่านะไม่เอาโทษทัณฑ์กับเสือหรุ่นเลย เพราะทางราชการต้องการคนดีไว้ใช้ต่อไป

เมื่อเสือหรุ่นทราบเรื่อง ครั้งแรกก็ยังลังเลใจอยู่ เพราะเคยถูกนายอำเภอต้มมาหนหนึ่งแล้ว แต่ใจหนึ่งคิดว่า ตนเองก็ได้ก่อกรรมทำเข็ญสร้างเวรกรรมไว้มากแล้ว คิดจะกลับตัวกลับใจเลิกเป็นโจรเสียที จึงตัดสินใจเขียนจดหมายถึงเจ้าเมืองอยุธยาว่า ตนยินดีที่จะพบกับท่านเจ้าเมืองทุกเวลา แต่มีข้อแม้ว่า ให้ท่านเจ้าเมืองมาเพียงคนเดียว เสือหรุ่นรับรองในความปลอดภัย และให้พบได้ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ลานนวดข้าวหลังโรงสี เวลา ๒ ทุ่มตรง

ครั้นถึงเวลานัด เจ้าเมืองได้มาถึงที่ลานวดข้าวก่อน พอได้เวลา เสือหรุ่นจึงเดินแหวกพุ่มไม้ออกมาพบ ท่านเจ้าเมืองจึงพูดขึ้นว่า "หรุ่นเอ๊ย สิ่งใดที่ผ่านมาขอให้ลืมมันเสีย จงกลับตัวกลับใจเสียใหม่ ทางราชการก็ยังขาดคนดีมีฝีมือเช่นเจ้าอยู่ ฉะนั้นข้าจะแต่งตั้งให้เอ็งเป็นกำนัน ปกครองคนในตำบลเชียงราก บ้านเดิมต่อไป"

เสือหรุ่นได้ฟังดังนั้นก็ตื้นตันใจ จึงทรุดตัวนั่งยกมือไหว้ท่านเจ้าเมืองและกล่าวว่า จะพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด

นับจากนั้นมา เสือหรุ่นก็ได้ทำหน้าที่อย่างดีตลอดมาประมาณ ๓ ปี จึงได้รับพระราชทานยศเป็น ขุนกาวิจล ใจภารา (บางตำนานว่า ขุนภาวิจล ใจภารา) หลังจากได้รับพระราชทานยศเพียง ๑ ปี ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก คือ เสืออุ่น ได้มาปรากฏตัวขึ้นในตำบลนั้น ขุนกาวิจลจึงเรียกเสืออุ่นมาพบ แล้วท่านกำนันตำบลเชียงรากหรือเสือหรุ่นจึงอบรมสั่งสอนเสืออุ่นให้ประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม ขอให้เลิกความชั่วเสีย เพราะได้เคยสร้างเวรสร้างกรรมไว้มาก ส่วนเสืออุ่นนั่งฟังอยู่ก็มิได้รับคำแต่ประการใด กับนึกในใจว่า ขุนกาวิจลเห่อยศศักดิ์จนลืมเพื่อนเก่าๆ เสียสิ้น จึงรีบลาขุนกาวิจลกลับไป

เมื่อเสืออุ่นลาขุนกาวิจล ใจภารากลับมาด้วยความไม่พอใจ เสืออุ่นเริ่มอาละวาด ปปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์คนแล้วคนเล่า และเมื่อปล้นฆ่าแล้วทุกๆ ราย เสืออุ่นจะเอ่ยชื่อ เสือหรุ่นปล้นทุกครั้ง

ความทราบถึงเจ้าเมืองอยุธยาให้มีความสงสัยจึงมีหนังสือมาถึงขุนกาวิจลให้มาพบด่วน ฝ่ายขุนกาวิจลได้รับหนังสือแล้ว คิดว่าการครั้งนี้เราคงมีความผิดแน่ๆ เพราะเจ้าเสืออุ่นซึ่งถูกจับได้ ซัดทอดมาถึง และอีกประการหนึ่ง ใครๆ ก็ย่อมรู้ว่า เสืออุ่นคือสมุนมือขวาของขุนกาวิจลมาก่อน คงจะรู้เห็นเป็นใจกันแน่ จึงได้หลบหนีหายเข้ากรุงเทพฯ แต่เจ้าหน้าที่ก็พยายามตามล่าตัวอยู่ตลอดเวลา ขุนกาวิจลเห็นว่า ถ้าขืนอยู่กรุงเทพฯต่อไป มิวันใดก็วันหนึ่ง ต้องถูกจับจนได้ จึงหนีย้อนกลับขึ้นไปบวชอยู่ที่วัดลำลูกกานั่นเอง ประมาณปีพ.ศ. ๒๔๓๑ โดย พระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่พระธรรมราชานุวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์

บวชอยู่ได้ประมาณ ๓ พรรษาครึ่ง เมื่อเรื่องเงียบหายไป ท่านจึงเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ มาประจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน ถนนนครไชยศรี อำเภอดุสิต จังหวัดกรุงเทพฯ

ต่อจากนั้น เมื่อลูกหลานทราบข่าวก็พากันมาพร้อมทั้งสานุศิษย์ เพื่อขอของขลังจากท่าน ในระหว่างนั้นท่านยังไม่ได้ทำเครื่องรางของขลังไว้เลย ท่านจึงได้ลงมือสักหลังมาตั้งแต่บัดนั้น จนมีกิติศัพท์ร่ำลือว่า "เก้ายอด" กรุงเทพสมัยนั้นย่อมทราบดีว่า นักเลงดังๆ ไม่มีใครเกินก๊ก "เก้ายอด"

เครื่องรางของขลังที่ท่านได้สร้างไว้ระยะหลังมีอยู่ ๔ ชนิด คือ

๑. เหรียญรูปไข่รูปเหมือนครึ่งองค์

๒. ตะกรุดโทนดอกยาวประมาณ ๑ เกรียก (ยาวประมาณปลายนิ้วโป้ง ถึงนิ้วชี้ หรือ ๒ องคุลีนิ้ว)

๓. กระดูกห่าน ลงจารขอม ยาวประมาณ ๑ องคุลี

๔. แหวนขาวเก้ายอด เป็นชิ้นสุดท้าย

ของทุกชิ้นใน ๔ ชนิดนี้ หาได้ยากมากเพราะท่านได้สร้างไว้จำนวนน้อย และราคาก็สูงในปัจจุบัน อภินิหารซึ่งตามที่ได้ปรากฏมาเป็นของคงกระพันชาตรีโดยตรง

สำหรับตะกรุดโทน หลวงพ่อหรุ่นนั้นมี ๒ ชั้น ชั้นแรกทำด้วยตะกั่ว ชั้นที่สอง ทำด้วยทองแดงมีความยาวประมาณ ๑ เกรียก มีทั้งชนิด ถักเชือกหุ้มและไม่ถักเชือกหุ้ม ภายในลงอักขระและม้วนเรียบร้อย ตะกรุดที่ในภาพประกอบเรื่องนี้เป็นเครื่องรางชิ้นเดียวของอาจารย์หรุ่น ที่แม่ฟัก (ลูกสาวที่ยังเหลือเพียงคนเดียว) มีอยู่และได้มอบให้ลูกชายผู้เขียนบันทึกเรื่องของหลวงพ่อหรุ่นออกเผยแพร่

เครื่องรางอีกชนิดหนึ่ง ของหลวงพ่อหรุ่นคือตะกรุด ทำด้วยกระดูกห่าน เป็นกระดูกห่านซึ่งดูเป็นสีขาวนวล ด้านนอกลงอักขระไว้เต็ม สำหรับตะกรุดกระดูกห่านนี้อาจารย์พู่ ลูกศิษย์หลวงพ่อซึ่งได้รับมอบหมายให้สักแทน ภายหลังเมื่อหลวงพ่อเสียแล้วเล่าให้ฟังว่า ตะกรุดกระดูกห่าน และเครื่องรางตลอดจนเหรียญนั้นท่านไม่ได้ดำริทำขึ้นเอง เป็นเพียงลูกศิษย์ไปแสวงหาและทำกันมาเสร็จแล้วก็นำมามอบให้ หลวงพ่ออาจารย์หรุ่น ปลุกเสกให้ ซึ่งท่านก็ทำให้ทุกรายไป

หลังจากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวันได้ไม่นานนัก หลวงพ่อหรุ่นก็ได้อาพาธกระเสาะกระแสะเรื่อยมา ด้วยโรคอัมพาตและท่านได้ถึงกาลมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ณ วัดอัมพวัน นั่นเอง ในกุฏิหลังโบสถ์ปัจจุบันนี้ คำนวณอายุได้ ๘๑ ปี พอดี

เครดิต:
https://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography_2/lp-hroon-9-yod/lp-hroon-hist-01.htm

BRIDGESTONE ลด 15% ที่ YELLOWTIRE.COM

เราคัดสรร พระเด่น พระดี ระดับคุณภาพ มากกว่า 100,00 รายการมารวมไว้ ที่นี่!!

พระเครื่องในร้าน
พระเครื่องที่คล้ายกัน

แม็กกาซีนพระ เรารวมสาระความรู้ และ บทความเกี่ยวกับพระที่น่าสนใจ