แหวนยันต์มงคลวัดมงคลบพิตร รุ่นพิธีปี 2485 (พระเครื่องราชพัฒน์)

ราคา / สถานะ :
พระโชว์
ชื่อร้าน พระเครื่องราชพัฒน์
ประเภทร้าน SHOP
เบอร์โทร 095-9155197 AIS
Line ID
จำนวนผู้ชม 11,547
ดูพระทั้งหมดในร้านค้า
ข้อควรระวัง ในการเช่าพระผ่านเว็ปไซต์

ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย

หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง

ทางเวปเป็นสื่อกลาง ไม่มีส่วนในการเช่าพระ
กรุงเทพมหานคร 1 มกราคม 2562 18:11 PM
ชื่อพระ :

แหวนยันต์มงคลวัดมงคลบพิตร รุ่นพิธีปี 2485 (พระเครื่องราชพัฒน์)


รายละเอียดพระ :

แหวนยันต์มงคลและเหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร สร้างปี 2485 คือเหรียญรุ่นสอง เป็นเหรียญลักษณะห้าเหลี่ยม ประกอบไปด้วย เนื้อเงิน และเนื้อทองแดงรมดำ ยังมีอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งเป็นพระคะแนน จะเป็นพระเกศจิ้มด้วยทองคำ เหรียญจำลองรูปหลวงพ่อพระมงคลบพิตรพระศักดิ์สิทธิ์มีกิตติคุณปรากฏมีการจัดสร้างครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.2463 จัดทำเป็นเหรียญรูปไข่หูเชื่อม สันนิษฐานกันว่า จัดสร้างเพื่อสมนาคุณแด่ผู้สละปัจจัยเป็นเงินในการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อให้กลับมาคืนดีดังเดิม คณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกครั้งนั้นล้วนแล้วแต่เป็นยอดเกจิอาจารย์ทุกท่าน เช่น หลวงพ่อ จาด จง คง อี๋ จันทร์ เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรกนี้ได้รับความนิยมมานานและมีสนนราคาสูงมากมาโดยตลอด เท่าที่พบส่วนมากจะเป็นเนื้อ ทองแดง ส่วนเหรียญเงินจัดทำน้อยมาก นอกจากเหรียญรุ่นแรกแล้วยังมีการจัดสร้างเหรียญ หลวงพ่อมงคลบพิตรรุ่นสอง ปี 2485 กับเข็มกลัดแจกกรรมการค่อนข้างจะหายากเพราะสร้างจำนวนไม่มากนัก ประวัติการจัดสร้างมีดังต่อไปนี้ ปี 2485 ได้มีการจำลองรูปพระมงคลบพิตรกับแหวนยันต์มงคล เพื่อจะสมนาคุณแด่ผู้ร่วมทำบุญในการปฏิสังขรณ์วัดเสนาสนาราม ขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก พณฯ นายปรีดี พนมยงค์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ พิธีการจัดสร้างวัตถุมงครั้งนั้นได้ดำเนินการพิเศษจริงๆ อาทิเช่น 1.มีการนำแผ่นทองถวายพระเถรานุเถระที่ทรงวิทยาวรคุณลงอักขระปลุกเสกแผ่นทอง แผ่นทองแดง จำนวนถึง 121 แผ่น เท่ากับ 121 พระอาจารย์ในสมัยนั้น จากทั่วประเทศไทยร่วมใจกันจัดสร้าง 2.รวบรวมโลหะเครื่องรางของโบราณที่พบภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3.ทองชะนวนจากพิธีสำคัญต่างๆ อีก 11 พิธีจาก วัดอนงคาราม หิรัญรูจี วัดราชบพิตร วัดกัลยาณมิตร วัดชนะสงคราม เป็นต้น พิธีได้เริ่มตั้งแต่ วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2485 เป็นปฐมฤกษ์ จุดเทียนชัย รุ่งขึ้นวันอังคารที่ 17 เป็นปฐมฤกษ์เททอง ภายในบริเวณวิหารพระมงคลบพิตร ซึ่งได้เตรียมการไว้ขณะที่กำลังทำพิธีได้เกิดนิมิตรอัศจรรย์ ลมกรรโชกรุนแรงท้องฟ้ามืดครึมสายฟ้าแลบคล้ายจะเกิดพายุใหญ่โดยไม่มีเคล้าฝนมาก่อนหน้า ซึ่งปรากฏการณ์อัศจรรย์ในครั้งนั้นเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง ให้ปรากฏต่อหน้าฝูงชนจำนวนมาก ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม 2485 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำเดือน 5 ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่พระอุโบสถวัดราชบพิตร โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาวรคุณมากกว่า 99 พระคณาจารย์เข้าร่วมพิธีปลุกเสก และสำเร็จอย่างสมบูรณ์ กล่าวโดยสรุป แหวนยันต์มงคลและเหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นพิธีปี 2485 จัดสร้างเป็นการพิเศษ ประกอบพิธียิ่งใหญ่และมีกิตติคุณปรากฏ แหวนยันต์มงคล พ.ศ. 2485 กลางเป็นรูปยันต์สี่เหลี่ยม ภายในมีอักษร ม. ภายใต้อุณาโลม 2 ข้าง ยันต์มีลายกนกประกอบ มีสามอย่างคือ แหวนทองแดงรมดำ แหวนเงิน แหวนเงินกาไหล่ทองลงยา ในปี พ.ศ. 2485 ไ้ด้มีการจัดสร้างเหรียญพระมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคล เหรียญที่จัดสร้างขึ้นเป็นเหรียญปั๊ม 5 เหลี่ยม มีหูในตัว มีทั้งเนื้อทองแดง เนื้อเงิน และเนื้อทองแดงพระเกศเป็นทองคำ ซึ่งเป็นพระคะแนน พิธีกรรมยิ่งใหญ่ไม่แพ้การจัดสร้างพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เช่าบูชา ดังนี้ - บริจาค 1 บาท ได้รับเหรียญพระมงคลบพิตร เนื้อทองแดง หรือแหวนยันต์มงคล อย่างใดอย่างหนึ่ง - บริจาค 2 บาท ได้รับแหวนยันต์มงคลเนื้อเงินขัดเงา 1 วง - บริจาค 3 บาท ได้รับเหรียญพระมงคลบพิตร เนื้อเงิน 1 เหรียญ - บริจาค 4 บาท ได้รับแหวนยันต์มงคลเนื้อเงินกะไหล่ทอง 1 วง - บริจาค 100 บาท ได้รับเหรียญพระมงคลบพิตรเนื้อทองแดง หรือแหวนยันต์มงคลเนื้อทองแดง อย่างใดอย่างหนึ่ง 110 ชิ้น และแถมพระมงคลบพิตรเนื้อทองแดง พระเกศทองคำ (เหรียญคะแนน) เหรียญพระมงคลบพิตร รุ่นกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 ที่ระลึก ฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปี รูปแบบคล้ายคลึงกับเหรียญที่ระลึก ปี พ.ศ. 2485 พิธีการสร้างเหรียญพระมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคล ปี พ.ศ. 2485 แบ่งเป็น 2 วาระ วาระแรกคือพิธีกรรมหลอมทอง กระทำ ณ วิหารพระมงคลบพิตร เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ต่อเนื่องถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 พระญาณไตรโลกาจารย์ (ฉาย) วัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย ไฟที่ใช้จุดเทียนชัยนี้ ไม่ใช่ไฟธรรมดา แต่ใช้ล่อจากแสงอาทิตย์ ซึ่งนับว่าเป็นไฟฟ้าอย่างแท้จริง พระญาณไตรโลกาจารย์ (ฉาย คงฺคสุวณฺโณ) วัดพนัญเชิงวรวิหาร พระนครศรีอยุธยา ในระหว่างพิธี ได้นำแม่พิมพ์ที่ใช้สร้างเหรียญพระมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคลไปถวายพระเถราจารย์ ลงเลขยันต์ปลุกเสก และยังได้อาราธนาประชุมปลุกเสกพร้อมกัน ทั้งแม่พิมพ์และโลหะทั้งหมดที่จะนำไปหลอม ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระมงคลบพิตรอีกครั้งหนึ่ง โลหะที่นำไปหลอมจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนั้น ประกอบด้วยแ่ผ่นทองจากพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมในจังหวัดต่าง ๆ ลงอักขระปลุกเสกและส่งมาร่วมในพิธี จำนวน 121 รูป โลหะเครื่องรางโบราณที่พบในบริเวณพระราชวังโบราณ คราวปรับปรุงเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาอีกมากชนิด เช่น ชินสังขวานรบนวิหารพระมงคลบพิตร ชินสังขวานรจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ ชินสังขวานรจากวัดป่าพาย ทองคำจากองค์พระมงคลบพิตร เนื้อสำริดกะเทาะจากองค์พระมงคลบพิตร พระชินขุนแผนจากวัดป่าพาย วัดสะพานเงินสะพานทอง พระชินกำแพงพันจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ พระปรุหนังวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระชินวัดขุนหลวงต่างใจ พระปิดทวารในเจดีย์พระราชวังโบราณ ลูกอมทองแดง วัดพระราม แผ่นทองกะเทาะจากองค์พระธาตุเชียงใหม่ ฯลฯ ชินสังขวานร หรือตะปูสังขวานร เป็นดีบุกผสมสังกะสี ตะกั่ว ปรอท ฯลฯ บิดงอได้ ต่างจากชินธรรมดาซึ่งเปราะหักง่าย ใช้ประโยชน์เป็นตัวยึดโครงสร้างไม้ เนื่องจากในสมัยโบราณ ไม่มีตะปูหรือน็อต จึงใช้ชินหรือตะปูสังขวานร ตอกยึดเจดีย์ เสนาสนะ และถาวรวัตถุภายในวัด มีความเชื่อว่า ชินสังขวานรมีอานุภาพป้องกันคุณไสย สิ่งอัปมงคลต่าง ๆ มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเนื่องจากฝังตรึงอยู่กับถาวรวัตถุภายในวัด ผ่านศาสนพิธีต่าง ๆ ของวัดมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เกจิอาจารย์นิยมนำมาหลอมสร้างพระเนื้อชิน มีดหมอ และเครื่องรางของขลัง นอกจากนี้ ยังมีทองชนวนจากพิธีสำคัญของพระอารามต่าง ๆ เช่น ทองชนวนพิธี วัดอนงคาราม ทองชนวนพิธี วัดหิรัญรูจี ทองชนวนรุ่นพระอาจารย์ 108 ของพิธีวัดราชบพิธ พ.ศ. 2481 ทองชนวนนวโลหะ พิธีหล่อพระชัยของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ ทองชนวนพระกริ่งวัฒนะ วัดกัลยาณมิตร ทองชนวนพระกริ่ง วัดชนะสงคราม ทองชนวนพระกริ่ง วัดสุทัศน์ ทองชนวนนวโลหะจากพิธีสำคัญต่าง ๆ ฯลฯ พระครูสิทธิสารคุณ (จาด คงฺคสโร) วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี 1 ใน 4 พระอริยเถระ 'จาด-จง-คง-อี๋' ตำนานกล่าวขานในช่วงมหาสงครามเอเชียบูรพา ในวันรุ่งขึ้น 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ครั้นได้ปฐมฤกษ์ เวลา 10:21 น. หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา เป็นประธานหย่อนแผ่นเงินจารึกดวงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน กับดวงฤกษ์ลงเบ้า เพื่อหลอมรวมกับทองชนวนและโลหะมงคลต่าง ๆ ซึ่งสุมรวมอยู่ในเบ้าอยู่ก่อนแล้ว ต่อมา ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยา ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใส่ทองคำหนัก 1 บาท (ทองคำนี้ได้อาราธนาพระเถราจารย์ลงอักขระปลุกเสกโดยเฉพาะทุกรูป) ลงเบ้าจนละลายเข้ากันดี แล้วหลวงปู่จาด จึงเริ่มเททอง โหรลั่นฆ้องชัย พิณพาทย์บรรเลง พระเถราจารย์ทั้งหลายเจริญชัยมงคลคาถา เมื่อดับเทียนชัยแล้ว พระเถราจารย์ทั้งหมดได้มาบริกรรมปลุกเสกทองที่หลอมเสร็จกับแม่พิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เป็นอันเสร็จพิธีหลอมทอง เหรียญพระมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคลทุกชิ้นที่สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อทองแดงหรือเนื้อเงิน ล้วนได้เจือทองในพิธีผสมทั่วกันหมด พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ หลังจากจัดสร้างเสร็จเป็นองค์พระเครื่องแล้ว ได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 (วันเสาร์ห้า) ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2485 ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร พระคณาจารย์ 121 รูป ที่เมตตาลงอักขระปลุกเสกแผ่นทอง ส่งมาร่วมพิธี ล้วนเป็นพระเถระผู้ทรงวิทยาคมแห่งยุค อาทิเช่น สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (สมเด็จพระสังฆราช ชื่น) วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส พระญาณไตรโลกาจารย์ (ฉาย) วัดพนัญเชิง หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า อรัญญิกาวาส ชลบุรี หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเิชิงเทรา หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี พระครูอาคมสุนทร (มา) วัดราชบูรณะ กรุงเทพฯ พระครูพิทักษ์ธรรมโสภิต วัดแหลมฟ้าผ่า สมุทรปราการ หลวงปู่บ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ พระนครศรีอยุธยา พระอธิการจันทร์ วัดคลองระนง นครสวรรค์ หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง นครปฐม หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค พระนครศรีอยุธยา พระอาจารย์แฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี ฯ ล ฯ นอกจากส่งแผ่นทองเข้าร่วมพิธีแล้ว พระเถระหลายท่านยังได้เมตตารับนิมนต์ร่วมทำพิธีหลอมทอง ณ วัดมงคลบพิตร และพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดราชบพิธอีกด้วย กล่าวได้ว่า เหรียญพระมงคลบพิตร พ.ศ. 2485 เป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญที่เต็มเปี่ยมด้วยพุทธคุณ มีขั้นตอนการสร้างอันพิถีพิถันและงดงามยิ่ง อ้างอิง ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ กรมศิลปากร พระเครื่องมงคลบพิตร - 'เมฆพัด' พระพุทธปฏิมามงคลบพิตร - อาจารย์สรพล โศภิตกุล

BRIDGESTONE ลด 15% ที่ YELLOWTIRE.COM

เราคัดสรร พระเด่น พระดี ระดับคุณภาพ มากกว่า 100,00 รายการมารวมไว้ ที่นี่!!

พระเครื่องในร้าน
พระเครื่องที่คล้ายกัน

แม็กกาซีนพระ เรารวมสาระความรู้ และ บทความเกี่ยวกับพระที่น่าสนใจ