พระเกศาครูบาศรีวิชัยพิมพ์พระรอด(พระเครื่องราชพัฒน์)

ราคา / สถานะ :
โทรถาม
ชื่อร้าน พระเครื่องราชพัฒน์
ประเภทร้าน SHOP
เบอร์โทร 095-9155197 AIS
Line ID
จำนวนผู้ชม 20,123
ดูพระทั้งหมดในร้านค้า
ข้อควรระวัง ในการเช่าพระผ่านเว็ปไซต์

ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย

หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง

ทางเวปเป็นสื่อกลาง ไม่มีส่วนในการเช่าพระ
กรุงเทพมหานคร 3 มกราคม 2562 07:52 AM
ชื่อพระ :

พระเกศาครูบาศรีวิชัยพิมพ์พระรอด(พระเครื่องราชพัฒน์)


รายละเอียดพระ :

#เกร็ดประวัติครูบาศรีวิชัย #พระเกศาครูบาศรีวิชัย สิ่งมงคลสูงสุดของชาวเหนือ ที่มา คม ชัด ลึก 19 ส.ค. 2547 - #พระเกศาครูบาศรีวิชัย เป็นพระเครื่องที่ชาวบ้านเกิดความศรัทธาอาลัย ต่อครูบาเจ้าฯจึงได้ร่วมกันสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะเก็บรักษาเส้นเกศาของครูบาศรีวิชัย เพื่อใช้บูชาหรือพกติดตัวยามเดินทางไปทำมาค้าขาย บ้างก็เก็บเอาไว้บูชากราบไหว้บนหิ้งพระประจำบ้าน จึงถือเอาได้ว่าพระเกศาครูบาศรีวิชัย เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นจากฝีมือของช่างชาวบ้านโดยแท้ ในการนำเอาเส้นเกศาครูบาเจ้าฯ มาคลุกเคล้ากับมวลสารเกสร, ผงธูปเพื่อสร้างเป็นพระเครื่องนั้น เกิดจากการศรัทธานับถือเส้นเกศาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า - #ตามตำนานปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุในล้านนามาแต่โบราณ แม้แต่ในคำเทศนาของพระสงฆ์ในล้านนา มักจะกล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธองค์ในดินแดนแถบล้านนานี้ เมื่อมาถึงทรงได้พบผู้คนในพื้นถิ่น และพระองค์ก็ได้มอบเส้นเกศาของพระองค์พร้อมคำทำนายว่า ในภายภาคหน้าดินแดนแคว้นนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็นที่ตั้งแห่งพระรัตนตรัย เจ้าเมืองก็จะสร้างที่บรรจุเส้นเกศาและพระบรมสารีริกธาตุซึ่งจะมาเพิ่มในภายหลัง เมื่อชาวบ้านหรือเจ้าเมืองได้รับเอาเส้นเกศาของพระพุทธองค์ไว้แล้ว ก็จึงได้เก็บบรรจุไว้ในกระบอกเงิน กระบอกทองคำ หรือบรรจุในกระบอกไม้อันเป็นมงคลบ้าง แล้วจึงนำไปบรรจุฝังดิน หรือบางแห่งก็สร้างพระสถูปเจดีย์จนเป็นพระบรมธาตุเจดีย์หลายองค์ในล้านนา สืบมาจวบทุกวันนี้ #พระเกศาครูบาศรีวิชัย พิมพ์พระรอด ยุคต้น - ในความเชื่อบูชาเส้นพระเกศาของพระพุทธองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายาวสืบทอดกันมาจวบจนถึงพระครูบาเจ้าศรีวิชัย อันชาวบ้านล้านนา ยกย่องเคารพบูชาด้วยบารมีที่ครูบาเจ้าฯมีแต่ให้แก่พระพุทธศาสนา จวบวาระสุดท้ายได้มาถึง คุณงามความดีที่ได้สร้างถาวรวัตถุให้แก่ชาวพุทธล้านนาไว้มากเหลือคณานับ จึงบังเกิดบุญบารมีอันแก่กล้า เกิดศรัทธาของศิษย์และคณะศรัทธาชาวบ้าน อันส่วนใหญ่มักจะเป็นกรรมการของวัดต่างๆ ในจังหวัดลำพูน, เชียงใหม่ที่ได้ร่วมกันสร้างพระเกศาครูบาศรีวิชัยขึ้น ภายหลังจากที่ท่านได้ล่วงลับดับขันไปแล้ว - #จากตำนานเล่าขานกันสืบมา ถึงการสร้างพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย มวลสารที่สร้างมักจะนำเอาผงเกสรและดอกไม้ต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมากราบไหว้พระในโบสถ์ ในพระวิหารรวมถึงตามพระบรมธาตุจากที่ต่างๆ มาผสมกับดอกพิกุลหรือดอกแก้วที่ตากแห้งดีแล้ว ตลอดทั้งเถ้าธูปจากกระถางบูชาพระพุทธอันหมายถึงพระประธานในพระวิหารของวัด ที่เป็นผู้สร้างพระเกศานั้นๆ - #เมื่อได้มวลสารผงเกสรตลอดจนวัสดุมงคลครบถ้วนตามความเชื่อของศรัทธาชาวบ้านแล้ว ก็จะนำมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาคลุกเคล้ากับยางรักโดยมีผงใบลานที่เป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งคนล้านนาโบราณได้จารึกอักขระไว้ เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าปั้นเป็นก้อนเหนียวได้ตามประสงค์เจตนา จึงนำเอามากดลงบนแม่พิมพ์เป็นองค์พระเครื่อง โดยจะผสมเอาเส้นพระเกศาครูบาเจ้าฯ ลงไปก่อนจะกดลงพิมพ์บ้าง นำเอาเส้นพระเกศาผสมลงในเนื้อผงเกสรเลยก็มีจึงปรากฏในภายหลังของพระเครื่องเส้นเกศาฯ นี้ ด้วยบางองค์ก็จะเห็นเส้นพระเกศาชัดเจน บางองค์ก็จะไม่พบเส้นพระเกศาข้างนอกเลย หลายท่านถึงกับลงทุนหักพระที่ได้มาเพื่อดูภายในว่ามีเส้นเกศาของครูบาเจ้าหรือไม่ ซึ่งวิธีการนี้ไม่ขอส่งเสริมแนะนำ เพราะหากเป็นพระเกศาครูบาเจ้าจากคำยืนยันและศึกษาไตร่ตรองดีแล้วไม่ควรได้ทำการพิสูจน์ด้วยวิธีหักองค์พระเพื่อดู จงมีความศรัทธาเชื่อถือบูชาพระเกศาครูบาเจ้าฯ ความสุขความเจริญจะบังเกิดแก่ท่าน อย่างไม่รู้ตัวในภายหลัง #สำหรับแม่พิมพ์ที่นำมาสร้างพระเกศาครูบาศรีวิชัยนั้นได้ยึดถือเอาแบบพุทธพิมพ์ของพระสกุลลำพูนเป็นตัวอย่างแม่พิมพ์พระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงมีหลายแบบหลายพิมพ์ทรงไม่ยึดถือเอา พิมพ์ทรงใดพิมพ์ทรงหนึ่ง - #จากคำบอกเล่าของชาวบ้านผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปก็จะกล่าวคำบอกเล่าแตกต่างกันไป อย่าง เช่นพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย พิมพ์พระรอดนั้นมักจะสร้างโดยคณะศรัทธาชาวบ้านที่มอบไว้ให้แก่วัดพระธาตุเจ้าหริภุญไชย เพื่อเป็นของขวัญที่ระลึกมอบแก่ผู้มาร่วมงานบุญฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ หริภุญไชยเจ้า #พระเกศาครูบาศรีวิชัย พิมพ์พระคง - ส่วนพิมพ์พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ก็จะสร้างตามแหล่งกำเนิดหรือตามกรุของพระพิมพ์นั้นๆ แต่จะสร้างกันในเวลาไม่ห่างกันมากนักเรียกได้ว่าทันยุคกัน จะแตกต่างกันไปของอายุก็ไม่เกิน 4-5 ปีเท่านั้น ข้อนี้เป็นคำยืนยันจากผู้สูงอายุที่เป็นชาวบ้านป่าซางบ้าง ชาวลำพูนเก่าแก่ดั้งเดิมบ้าง - #แม่พิมพ์ของพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ กันจะสร้างจากดินเผา บางครั้งก็ใช้พระสกุลลำพูนกดลงบนพื้นดินแล้วนำไปเป็นแม่พิมพ์ เรียกได้ว่าลอกแบบเลยก็มี ดังนั้นมีพระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยในรูปแบบพิมพ์ทรงเป็นพระสกุลลำพูนเป็นส่วนมาก จะมีเป็นพิมพ์ทรงแปลกๆ บ้าง ก็ขึ้นอยู่กับชาวบ้านที่ได้เก็บรักษา หรือได้มาซึ่งเส้นเกศาของครูบาเจ้าฯ แล้วนำเอาไปสร้างไปทำเป็นพระเครื่องเองก็มีมากพิมพ์องค์เหมือนกัน - #ตลอดระยะเวลาที่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา เมื่อยังมีชีวิตอยู่นั้นในครั้งคราใดที่พระครูบาเจ้าจะปลงผม (เส้นเกศา) เหล่าบรรดาพระลูกศิษย์และศรัทธา ชาวบ้านจะพากันเอาผ้าขาวมารอง พร้อมใบบัวมาคอยรับคอยห่อ เอาพระเกศาของท่านครูบาเจ้าฯ เมื่อได้เส้นเกศาที่ครูบาท่านปลงแล้ว ก็จะขออนุญาตนำออกไปแจกให้ คณะศรัทธาชาวบ้านส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้กับวัดที่ท่านจำอยู่คราปลงเส้นผมนั้น ครั้นกาลเวลาต่อมาบางวัดก็ได้นำเอาไปบรรจุรวมกับอัฐิธาตุ ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัยดังปรากฏตามประวัติการสร้างสถูป อนุสาวรีย์ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สืบมาถึงปัจจุบัน - #และยังมีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งเมื่อได้รับเอาเส้นพระเกศาของครูบาเจ้าฯ มาแล้วก็จะนำเอาไปเก็บไว้ในกระบอกไม้ไผ่เสร็จแล้วก็จะลงรัก ลงชาดปิดทองคำเปลวบนกระบอกไม้ไผ่เก็บรักษา บูชาไว้บนหิ้งพระประจำบ้านก็ยังคงมีให้พบเห็นอยู่ - #เส้นเกศาของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตามที่ได้พบเห็นจะมีความยาวประมาณมือหยิบ หรือประมาณ เซนติเมตร เป็นส่วนใหญ่ลักษณะเส้นผมจะเป็นสีน้ำผึ้ง, ใส ดุจดั่งเส้นใยแก้วก็มี - #พุทธคุณของพระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยนี้มากด้วยพุทธคุณทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดภยันตราย พิษภัยจากการเจ็บไข้ได้ป่วยระหว่างการเดินทาง รอดพ้นภัยดีนักแล อิทธิปาฏิหาริย์ด้านคงกระพันชาตรีไม่ปรากฏ จะมีก็แต่เพียง เมื่อเกิดอุบัติเหตุมักจะแคล้วคลาดรอดพ้นมาได้ อาจมีบาดแผลบ้าง บางครั้งผู้มีประสบการณ์ที่ประสบอุบัติเหตุก็จะพบว่ารถที่ชนกันแหลกพังยับเยิน ตนเองน่าจะไม่รอดแต่กลับรอดพ้นมาได้ โดยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น - #จากคำบอกเล่าของวัยรุ่น นักเรียนนักศึกษาในเชียงใหม่ ส่วนมากที่ประสบการณ์ในด้านการไปขอพรบนบานศาลกล่าว ขอพรต่ออนุสาวรีย์พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ ทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพเชียงใหม่ ซึ่งทางจังหวัดและชาวล้านนาได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ รำลึกถึงพระครูบาเจ้าศรีวิชัยที่เป็นองค์ประธานสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุดอยสุเทพ อันเป็นอัศจรรย์ยิ่งสืบมา และด้วยแรงศรัทธาเคารพบูชาพระครูบาเจ้าฯ เหล่าบรรดานักเรียน นักศึกษาที่ไปกราบไหว้บนบานบูชาขอพรต่ออนุสาวรีย์ของครูบาเจ้าฯ ส่วนใหญ่จะประสบผลสำเร็จในการสอบเข้าเรียนต่อยังสถาบันแห่งใหม่ - :#เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วผู้ที่ทั้งอยู่ไกล อยู่ใกล้ก็จะมากราบลาอนุสาวรีย์ของครูบาเจ้าฯ อีกครั้งเป็นเหตุเสมอต้น เสมอปลายอยู่อย่างนี้ตลอดมา ณ.อนุสาวรีย์รูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย บนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพนั้นคณะศิษย์ยานุศิษย์ผู้จัดสร้างได้นำเอาอัฐิธาตุและเส้นพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยบรรจุไว้ ณ ที่แห่งนั้นด้วยดังปรากฏเป็นหลักฐานให้สาธุชนกราบไหว้บูชาตราบทุกวันนี้ สาธุ #ครูบาศรีวิชัย พระผู้ทรงคุณประโยชน์ทางด้านการศาสนา กำเนิดที่บ้านปาง ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน เมื่อวันอังคารที่ ๑๑ มิ.ย.๒๔๒๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีขาล เวลา ๑๘.๐๐ น. บิดามารดาของท่าน คือ นายควาย และนางอุสา มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด ๕ คน คือ ๑. นายอินทร์ไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินทร์เฟือน (ครูบาศรีวิชัย) ๔. นางแว่น ๕. นายทา เริ่ม การศึกษาเมื่ออายุ ๑๗ ปี โดยได้ศึกษาอักษรไทยล้านนากับท่านครูบาขัตติยะ ต่อมาเมื่ออายุ ๑๘ ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยพระครูบาขัตติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ได้รับสมญานามว่า "สามเณรศรีวิชัย" เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ สามเณรศรีวิชัย ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านโฮ่งหลวง อ. บ้านโฮ่ง จ. ลำพูน โดยมีพระครูบาสมณะเจ้าอาวาส วัดบ้านโฮ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ได้รับฉายานามว่า "สิริวิชะโยภิกขุ" เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ หลังอุปสมบทได้ ๑ ปี ท่านได้ขอลาไปศึกษา กัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับพระครูบาอุปละ (อุบล) วัดดอยแต อ.แม่ทา จ.ลำพูน หลังจากได้ศึกษากัมมัฏฐานกับพระครูบาอุปละได้ ๑ พรรษา ก็ได้อำลามาสู่วัดบ้านปาง จนถึงพรรษาที่ ๖ จึงได้รับเป็นเจ้าอาวาส วัดบ้านปาง #ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ทรงศีล จริยวัตรปฏิบัติบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา กัมมัฏฐานอย่างเคร่งครัด มุ่งมั่นปฏิบัติธรรมเจริญรอยตามพระบรมศาสดา ท่านจะคอย แนะนำอบรมสั่งสอนพระเณรเด็กวัดและแนะนำศรัทธาญาติโยมสาธุชนที่เคารพเลื่อมใส ให้ตั้งมั่นในศีลในธรรมช่วยกันบำรุงบวรพุทธศาสนา ไม่ให้ทอดทิ้งประเพณีอันดีงาม กิตติศัพท์การครองวัตรอันเคร่งครัดของท่านได้เลื่องลือไปทั่ว ผู้คนเกิดศรัทธาทำบุญถวาย ทักขินาทานมากขึ้นตามลำดับบรรดาพระภิกษุ สามเณร ตามวัดต่างๆ ต่างตำบล ต่างอำเภอ ได้พากันมาขอฝากตัวเป็นสานุศิษย์ด้วยเป็นอันมากและได้มีกุลบุตรจำนวนมากมาขอ บรรพชาและอุปสมบทอยู่ในสำนักบ้านปาง #ครูบาศรีวิชัย ได้ใช้ความศรัทธาของประชาชน และสานุศิษย์ ชักชวนให้ก่อสร้างพัฒนาวัดวาอาราม พระธาตุ พระบาท พระเจดีย์ ศาสนสถานรวม ๑๐๖ แห่ง ใน ๕ จังหวัด คือ จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ลำปาง และจ.ลำพูน ผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่ประชาชน ชาวไทยยกย่องไม่รู้ลืมก็คือเป็นองค์ประธานในการสร้างพระบรมธาตุดอยสุเทพ โดยสร้างทางขึ้นระยะทาง ๑๒ กม. ใช้เวลา ๕ เดือน ๒๒ วัน คือเริ่มสร้างเมื่อ ๙ พ.ย.๒๔๗๗ และเปิดใช้ทางขึ้นดอยสุเทพครั้งแรกเมื่อ ๓๐ เม.ย.๒๔๗๘ ค่าก่อสร้างประมาณ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ยี่สิบล้านบาท) โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐบาล เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ - ๒๔๗๑ พระครูบาศรีวิชัยได้รวบรวมสังคายนาพระไตรปิฏก ฉบับล้านนาที่ถูกทอดทิ้งอยู่ตามวัดต่างๆ ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่างๆ เก็บมารวบรวมจารลงในใบลานขึ้นมาใหม่ #ครูบามรณภาพ เมื่อวันอังคารที่ ๒๑ ก.พ. ๒๔๘๑ รวมสิริอายุได้ ๖๑ ปี ๕ เดือน ๙ วัน ณ วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ข่าวการ มรณภาพของครูบาเจ้ายังความเศร้าสลด อาลัยนักบุญผู้ทรงศีล จึงพากันหลั่งไหลมายังวัดบ้านปางมากมาย พระศพของท่าน ตั้งบำเพ็ญ กุศลให้ผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสกราบสักการะเป็นเวลา ๒ ปี จึงเคลื่อนพระศพมาตั้งบำเพ็ญกุศลที่ วัดจามเทวีนานถึง ๗ ปี และได้กำหนด พิธีพระราชทานเพลิงศพของท่านในวันที่ ๒๒ มี.ค. ๒๔๘๙ โดยมีประชาชนมาถวายพระเพลิงศพเป็นจำนวนมาก และประชาชนเหล่านั้น ได้เข้าแย่งชิงอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยตั้งแต่ไฟยังไม่มอดสนิท แม้แต่แผ่นดินตรงที่ถวายพระเพลิง ก็ยังมีผู้ขุดเอาไปสักการะบูชา อัฐิธาตุของท่านที่เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมได้ได้ถูกแบ่งออกเป็น ๗ ส่วน แบ่งไปบรรจุตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้ ๑. ส่วนที่ ๑ บรรจุที่ วัดจามเทวี จ.ลำพูน ๒. ส่วนที่ ๒ บรรจุที่ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ ๓. ส่วนที่ ๓ บรรจุที่ วัดพระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง ๔. ส่วนที่ ๔ บรรจุที่ วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา ๕. ส่วนที่ ๕ บรรจุที่ วัดพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ ๖. ส่วนที่ ๖ บรรจุที่ วัดน้ำออกรู จ.แม่ฮ่องสอน ๗. ส่วนที่ ๗ บรรจุที่ วัดบ้านปาง อ.ลี้ ลำพูน

BRIDGESTONE ลด 15% ที่ YELLOWTIRE.COM

เราคัดสรร พระเด่น พระดี ระดับคุณภาพ มากกว่า 100,00 รายการมารวมไว้ ที่นี่!!

พระเครื่องในร้าน
พระเครื่องที่คล้ายกัน

แม็กกาซีนพระ เรารวมสาระความรู้ และ บทความเกี่ยวกับพระที่น่าสนใจ