ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย ปทุมธานี( #03 )

ราคา / สถานะ :
โทรถาม
ชื่อร้าน โสฬสมงคล
ประเภทร้าน SHOP
เบอร์โทร 089 1435795
Line ID boonchx
จำนวนผู้ชม 38
ดูพระทั้งหมดในร้านค้า
ข้อควรระวัง ในการเช่าพระผ่านเว็ปไซต์

ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย

หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง

ทางเวปเป็นสื่อกลาง ไม่มีส่วนในการเช่าพระ
กรุงเทพมหานคร 12 กันยายน 2567 17:14 PM
ชื่อพระ :

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย ปทุมธานี( #03 )


รายละเอียดพระ :

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย ปทุมธานี( #03 )

ดอกยาว 1.6 นิ้ว
ดอกนี้เคยอยู่ในเลี่ยมพลาสติกเก่า น่าจะเลี่ยมมาสัก 10 ปีได้ ตอนแกะออกมา จะพบว่ามีกาวจากการเลี่ยมติดมาที่หัวตะกรุด และบางส่วนติดกับกรอบพลาสติก ทำให้เวลาแกะออกหนังบางส่วนที่หัวตะกรุดด้านหนึ่งหลุดออกมา
ตะกรุดดอกนี้ ส่วนของหนังหน้าผากเสือ มีลักษณะแห้งเก่ามีอายุเกือบๆ 100ปีแล้ว น้ำหนักเบามากแทบไม่มีน้ำหนักถ่วงมือเลย

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงพ่อหว่างที่แตกต่างจากของหลวงปู่นาค ลูกศิษย์ท่านก็คือ ท่านจะใช้หนังหน้าผากเสือที่ไม่ได้โกนขน แล้วใช้เชือกถักหุ้มด้านนอกไว้ และมัดเชือก 3 ปล้องอีกทีหนึ่ง
สำหรับดอกนี้ เป็นการม้วน เอาด้านขนเข้าด้านใน เนื่องจากด้านนอกไม่ได้ใช้เชือกถักหุ้ม จึงทำให้มีลักษณะคล้ายกับตะกรุดของหลวงปู่นาค หากพิจารณาไม่ละเอียด อาจจะเข้าใจผิดได้

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ไม่เหมือนกับสำนักอื่นคือ
1. ใช้เฉพาะหนังหน้าผากเสือเท่านั้น ดังนั้นเสือ 1 ตัว สร้างตะกรุดได้เพียง 1 ดอก
2. การมัดตะกรุด จะมัดเป็น 3 ปล้อง
ซึ่งเอกลักษณ์นี้ มีปรากฏให้เห็นในตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่นาค วัดอรุณ ศิษย์เอกหนึ่งเดียวของท่าน ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาตะกรุดหนังหน้าผากเสือนี้.

ประวัติ หลวงพ่อหว่าง(สว่าง) วัดเทียนถวาย ปทุมธานี

"พระธรรมานุสารี" (หลวงปู่สว่าง) ท่านถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ โยมบิดาท่านชื่ออ่อน โยมมารดาชื่อทิม ที่บ้าน หลังวัดเทียนถวาย ในวัยเด็กบิดาท่านได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่กับ (พระปลัดปิ่น วัดบางกระดี) ต่อมาก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรและอยู่กับพระปลัดปิ่น จนกระทั่งอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทที่วัดเทียนถวาย โดยมี (พระปลัดปิ่น) เป็นพระอุปัชฌาย์ (พระสมุห์ยัง) วัดเทียนถวาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดบางกระดี ๓ พรรษา จากนั้นก็เข้ามาศึกษาต่อที่ วัดสระเกศ ศึกษาคันถธุระ วิปัสสนาธุระ โหราศาสตร์ และวิทยาคมหลายแขนง
ต่อมาท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระสมุห์ ของ "พระวินยานุกูลเถระ" (ศรี) จนกระทั่งพระวินยานุกูล (ศรี) มรณภาพลง ท่านจึงกลับมาอยู่ที่วัดบางกระดี จนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๕ วัดเทียนถวายว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านจึงได้มาอาราธนาหลวงปู่สว่างมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย

วัดเทียนถวายนี้เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี "สุนทรภู่" เคยพรรณนาไว้ในนิราศพระบาท ครั้งร่วมขบวนเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๐ ตอนที่ผ่านวัดเทียนถวายว่า
"ถึงวัดเทียนถวายท่าใหม่ข้าม
ก็รีบตามเรือที่นั่งมากลางหน
ทุ่งละลิ่วทิวเมฆเป็นหมอกมน
สะพรั่งต้นตาลโตนดอนาถใจ
เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น
ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน
ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล"
วัดเทียนถวาย ในสมัยก่อนชาวบ้านเรียกว่า วัดเหล้าจืด เพราะคนเมาสุราเมื่อเข้ามาในวัดนี้ก็ถึงกับหายเมาเสมือนว่าเหล้าจืดไป เพราะเกรงกลัวเจ้าอาวาส ซึ่งในสมัยนั้นก็คือ หลวงปู่หว่าง จากคำกล่าวนี้ทำให้เห็นว่า หลวงปู่ท่าน มีมหาอำนาจเพียงใด

ปี พ.ศ.๒๔๓๕ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย และเป็นพระอุปัชฌาย์
ปี พ.ศ.๒๔๕๕ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นพระครูศีลานุโลมคุณ
ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมานุสารี และเป็นเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
ปี พ.ศ.๒๔๖๔ ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมานุสารี
"ท่านเจ้าคุณพระธรรมานุสารี" (หลวงปู่สว่าง) ท่านเป็นอาจารย์ ของ "พระพิมลธรรม" (หลวงปู่นาค) วัดอรุณราชวราราม หรือ วัดแจ้ง ที่รับการถ่ายทอดวิชาการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือที่โด่งดังในอดีต ซึ่งท่านทั้งสองเป็นเกจิเชื้อสายรามัญหรือมอญ หลวงปู่สว่างท่านเป็นหลาน (หลวงปู่ช้าง วัดเขียนเขต) และยังเป็นอาจารย์ของ (หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ) อีกด้วย แม้แต่ (หลวงปู่ช่วง วัดบางหญาแพรก) ยังมาเรียนวิชาทำผ้าประเจียดกับท่าน หลวงปู่สว่าง ท่านไม่สร้างพระเครื่อง ท่านสร้างแต่เครื่องราง คือ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตะกรุดหนังเสือ กับผ้าประเจียด เท่านั้น
หลวงปู่สว่าง ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก และมักเรียกท่านว่า หลวงปู่หว่าง วัตถุมงคลของท่าน จะทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และผ้าประเจียด ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารสไปพระราชวังบางปะอิน เมื่อถึงวัดเทียนถวาย ได้ทรงแวะขึ้นไปนมัสการพระอุปัชฌาย์สว่าง ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน ๒๐บาท และทรงให้พนักงานฉายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์กับพระอุปัชฌาย์สว่าง ในครั้งนั้นหลวงปู่สว่าง ก็ได้ถวายตะกรุดหนังหน้าผากเสือแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วย
จังหวัดปทุมธานี มีพระเถระ อริยสงฆ์หลายองค์ แต่ละองค์ล้วนแต่สร้างวัตถุมงคลแจกลูกศิษย์ลูกหา ที่มีความขลังอันเป็นอมตะสุดยอด เช่น ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตะกรุดหนังเสือ ของท่านเจ้าคุณพระธรรมานุสารี (หลวงปู่สว่าง) วัดเทียนถวาย ที่มีมหาอุดเป็นยอด มหาอำนาจเป็นเยี่ยม นักเลงเครื่องรางของขลังรุ่นเก่าๆ ถึงกับบอกลูกหลานหรือลูกศิษย์ไว้ว่า ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตะกรุดหนังเสือ วัดแจ้งแข่งกับวัดเทียนถวายแล้วไม่มีใครเป็นรองใคร ต้องหาไว้ให้ได้ทั้งสองวัดนี้ ทั้งของอาจารย์และลูกศิษย์ ต้องยกให้ของวัดแจ้งและวัดเทียนถวายเป็นที่สุด
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือที่ท่านสร้างนั้น มีอายุราวร้อยกว่าปี ซึ่งต้องมีความแห้งเก่าถึงยุคเชือกรักที่ลงต้องเก่าจัดมัน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือนั้น ท่านจะทำเฉพาะ เสาร์๕ เท่านั้น และปลุกเสกหนึ่งไตรมาส จึงค่อยนำมาแจกให้ลูกศิษย์ ตะกรุดของท่านทำไว้น้อย เพราะท่านทำตามตำราบังคับโบราณ คือเสือหนึ่งตัว ทำได้เพียงดอกเดียวเท่านั้น
หลวงปู่นาค วัดอรุณธรรมฯหรือวัดแจ้ง ท่านเป็นลูกศิษย์ "พระธรรมนุสารี" (หลวงปู่สว่าง) ผู้ได้รับการถ่ายทอดวิชาทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือ แต่ผู้เดียว และเป็นแม่งานในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ ของพระอาจารย์ของท่านคือหลวงปู่หว่าง วัดเทียนถวาย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ และได้ทำรูปถ่ายซีเปีย ข้าวหลามตัด มาแจกในงานทำบุญนี้ ปัจจุบันรูปถ่ายซีเปียนี้เป็นที่นิยมและหาชมได้ยากมากแล้ว
"ท่านเจ้าคุณพระธรรมานุสารี" (หลวงปู่สว่าง) ท่านถึงแก่มรณภาพลง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ สิริอายุได้ ๗๗ ปี ๕๗ พรรษา
เรียบเรียง : พระเกจิ แดนสยาม
https://www.facebook.com/prakejidansiam/

เครดิต:
https://www.facebook.com/prakejidansiam/posts/831184430409780/?locale=th_TH

ซื้อยางที่ YELLOWTIRE เลือกร้านติดตั้ง TYREPLUS

เราคัดสรร พระเด่น พระดี ระดับคุณภาพ มากกว่า 100,00 รายการมารวมไว้ ที่นี่!!

พระเครื่องในร้าน
พระเครื่องที่คล้ายกัน

แม็กกาซีนพระ เรารวมสาระความรู้ และ บทความเกี่ยวกับพระที่น่าสนใจ