ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย
หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง
พระสมเด็จปิลันท์ขาว พิมพ์สี่เหลี่ยม
สมเด็จปิลันท์ขาว พิมพ์สี่เหลี่ยม
พระปิลันทร์ วัดระฆัง ผู้สร้างคือ "พระพุทธบาทปิลันทน์" ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีพระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าทัด เสนีย์วงศ์" เป็นพระโอรสใน กรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ ( พระองค์เจ้าแดง ) ใน กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ( วังหลัง ) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด เสนีวงศ์ เป็นเจ้าวังหลัง และทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ประทับอยู่ที่วัดระฆังฯ และศึกษาพระบาลีปริยัติธรรมกับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรงมาตั้งแต่ต้นจนได้เปรียญ ๗ ประโยค และเป็นศิษย์ที่ทรงสมณศักดิ์สูงที่สุดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีกด้วย ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ในรัชกาลที่ ๔ อันเป็นสมณศักดิ์ที่ทรงพระราชทานถวายเฉพาะ แด่พระเถระที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น และทรงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้วโปรดให้ไปครองวัดเชตุพนฯ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๑๓ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ แทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ซึ่งชราภาพแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) มรณภาพวันอาทิตย์ที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๓ รวมสิริอายุ ๗๙ปี ๕๘ พรรษา
หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ท่านทรงเป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ซึ่งท่านได้มีส่วนร่วมในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ และท่านก็ได้สร้างพระสมเด็จฯ เป็นต้นมา และได้ทรงสร้างพระเครื่องฯ ของท่านขึ้นมาบ้าง แต่เนื่องจากสมัยก่อนศิษย์มีความเคารพต่ออาจารย์เป็นอย่างยิ่ง ไม่มีใครคิดทาบรอยเท้าอาจารย์ ทำให้พระสมเด็จปิลันทน์ มีแบบพิมพ์พระที่ไม่เหมือนของอาจารย์ท่านเลยแม้แต่พิมพ์เดียว การสร้างพระเครื่องสมเด็จพระปิลันทน์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.๒๔๐๗ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพุทธบาทปิลันทน์" แต่บางข้อมูลก็บอกว่า ท่านสร้างพระเครื่องในปีพ.ศ. ๒๔๑๑ ภายหลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จ มาแล้ว 2 ปี แต่มิได้ทรงสร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษห้าประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร ในช่วงเวลาดังกล่าว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ยังมีชีวิตอยู่ จึงสันนิษฐานว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ โต จะแผ่เมตตาประกอบพิธีปลุกเสกให้ด้วย ดังนั้น พระเครื่องฯ ชนิดนี้คนรุ่นเก่าๆ ที่ทราบประวัติการสร้างจึงนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักนิยมพระเครื่องทั่วๆ ไปนิยมเรียกว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นแล้วท่านจึงได้บรรจุพระเครื่องฯ เหล่านี้ไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นพระอาจารย์ ( บางท่านก็บอกว่าสร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๓๕ )
พระสมเด็จปิลันทน์ มีหลายพิมพ์ ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือการแกะแม่พิมพ์ของช่างหลวงทั้งสิ้น เพราะแต่ละพิมพ์ล้วนมีความงดงามวิจิตรอลังการ ยากที่ช่างฝีมือชาวบ้านธรรมดาจะทำได้ พระสมเด็จปิลันทน์ เป็นพระเนื้อผงใบลานเผา เนื้อออกสีเทาๆ เป็นส่วนใหญ่ ที่ออกเป็นสีดำก็มีบ้าง และมีเนื้อออกสีขาวอมเหลืองก็มีแต่เป็นส่วนน้อย พระสมเด็จปิลันทน์นั้น มีทั้งแบบฝังกรุ และไม่ฝังกรุ ในส่วนของพระฝังกรุ จะมี คราบกรุ จับบนผิวองค์พระหนาบางไม่เท่ากัน ที่เป็นหย่อมๆ ก็มี คราบกรุจะเป็นสีขาวนวล สีขาวหม่น และสีน้ำตาล อ่อนบ้างแก่บ้าง บางคนเรียกคราบกรุนี้ว่า “ไข” คล้ายกับ ไขวัว พระองค์ใดมี ไข ที่ว่านี้จะทำให้ดูง่ายยิ่งขึ้น คราบไขนี้จะแข็งมากซึ่งทำให้ง่ายต่อการพิจารณา ในพระปลอมไขขาวจะหลุดล่อนง่าย พระบางส่วนถูกแจกออกไปก่อนที่จะได้บรรจุกรุ ทำให้พระส่วนนี้จะไม่ปรากฏคราบกรุและคราบไข จะมีบ้างก็น้อยมากเป็นเพียงคราบบางๆ แต่พระส่วนใหญ่เป็นพระที่ถูกบรรจุไว้ในกรุ การเปิดกรุ พระเจดีย์กรุพระสมเด็จปิลันทน์ ถูกลักเจาะครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๗๑ โดยคนร้ายได้พระไปเป็นส่วนน้อย และทางวัดได้ซ่อมอุดช่องเสีย ต่อมาปีก่อนที่จะเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนเล็กน้อย กรุนี้ก็ถูกลักเจาะอีก เมื่อกรุแตกมีคนนำพระมาให้พระธรรมถาวร ช่วงพิจารณา ท่านก็จำได้ว่าเป็นพระของหม่อมเจ้าพระพุฒาจารย์ทัด สมัยยังดำรงสมณศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ได้ทรงสร้างไว้ ทางวัดจึงได้นำพระสมเด็จปิลันทน์ พระเครื่องบางส่วนบรรจุในถุงผ้าดิบส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมเพื่อแจกทหารออกศึกตามที่ทางราชการขอมา ส่วนพิมพ์ของพระสมเด็จปิลันทน์นั้นมีมากมายหลายพิมพ์เช่น พิมพ์ซุ้มประตู พิมพ์ครอบแก้วใหญ่ พิมพ์ครอบแก้วเล็ก พิมพ์เปลวเพลิง พิมพ์โมคคัลลาน์ พิมพ์ปิดตา พิมพ์หยดแป้ง พิมพ์สมเด็จพิมพ์เล็ก พิมพ์สมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ ซึ่งมีทั้งพิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่ กลาง เล็กเป็นต้น พิมพ์ที่ถือว่า สุดยอด ของ พระปิลันทน์ ก็คือ พิมพ์ซุ้มประตู
พระปิลันทน์เป็นพระที่มีพิมพ์จำนวนมาก แต่จำแนกตามพิมพ์ที่นิยมกันได้ดังนี้
1. พระพิมพ์ซุ้มประตู
2. พระพิมพ์ครอบแก้วใหญ่
3. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์
4. พระพิมพ์เปลวเพลิงใหญ่
5. พระพิมพ์เปลวเพลิงเล็ก
6. พระพิมพ์ครอบแก้วเล็ก
7. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก
8. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก ครอบแก้ว
9. พระพิมพ์ประทานพร หรือปฐมเทศนา
10. พระพิมพ์โมคคัลลาน์ - สารีบุตร
11. พระพิมพ์ฐานสามชั้น ซุ้มสามเส้น
พระสมเด็จปิลันทน์นับเป็นพระยอดนิยมของวงการพระเครื่อง ถูกบรรจุอยู่ในรายการประกวดพระเครื่องประเภทเนื้อผงยอดนิยมทุกงาน ปัจจุบัน พระสมเด็จ วัดระฆัง ที่สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) เป็นของที่หาได้ยากยิ่ง และมีสนนราคาแพงมาก องค์ละหลายแสนหลายล้านบาท ผู้ที่ไม่สามารถหา พระสมเด็จฯ ( โต ) ได้ก็มักจะหันมาใช้ พระสมเด็จปิลันทน์ แทน เพราะเป็นพระเครื่องที่ สมเด็จฯ โต ปลุกเสกเหมือนกัน พุทธคุณจึงไม่น่าแตกต่างกันมากนัก แต่สนนราคาก็ถูกกว่ากันมาก
ในสมัยก่อน พระปิลันทน์ ราคาไม่แพงนัก แต่มาชั่วโมงนี้พระปิลันทน์ได้ปรับราคาสูงขึ้นไปมาก และไม่มีของหมุนเวียนในสนามมากนัก เท่าที่เห็นก็มีแต่สภาพผ่านการใช้ แถมราคาก็หลักหมื่นต้นๆ ถ้าสวยๆ ก็หลายหมื่น(พิมพ์ปรกโพธิ์) และ(พิมพ์ซุ้มประตู) เป็นแสน ถ้านับอายุการสร้างถึงวันนี้ก็เกิน 100ปีไปแล้ว นับเป็นวัตถุโบราณได้เลย ไม่ว่าพระสมเด็จปิลันทน์ จะผ่านการปลุกเศกจากสมเด็จพุฒาจารย์(โต) หรือไม่ก็ตาม กระผมก็ยังคิดว่า เป็นพระเครื่องรุ่นเก่าที่น่าบูชาเป็นอย่างมาก ด้วยเป็นหน่อเนื้อเชื้อสายของวัดระฆัง ที่สมบูรณ์พร้อมไปด้วยเจตนการสร้าง , มวลสาร และ สมณศักดิ์ของผู้สร้าง อีกทั้งทางด้านพุทธคุณที่ครบเครื่อง ทั้งเมตตา แคล้วคลาด อุดมลาภ และคงกระพันที่เชื่อได้
ถ้าเราหาพระสมเด็จฯ ของวัดระฆังฯ หรือบางขุนพรหมที่เจ้าประคุณสมเด็จฯโต ท่านสร้างไว้ไม่ได้ เราก็ยังมีโอกาสที่จะได้บูชาพระที่มีส่วนผสมมวลสารของเจ้าประคุณสมเด็จฯ และท่านมีส่วนช่วยสร้างด้วย นั่นก็คือพระสมเด็จปิลันทน์ ซึ่งมีด้วยกันหลายพิมพ์ เป็นพระที่น่าสะสมอย่างมากราคาคุมค่าพุธคุณสุดยอด
o หากมีบัญชี Facebook สามารถใช้ในการสมัครสมาชิกได้
o กรอกอีเมล/เบอร์โทรศัพท์ และรหัสผ่านที่ใช้เข้า Facebook
o กด “ตกลง” ก็จะเป็นสมาชิกเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ได้ทันที
o ใส่ชื่ออีเมล และ รหัสผ่าน และ กดตกลง
o เข้าไปที่อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ ตรวจสอบอีเมลจาก prapantip@gmail.com เมื่อรับอีเมลแล้วให้กดที่ลิงค์ที่อยู่ในอีเมล เพื่อเข้าระบบ (บางครั้งอีเมล อาจไม่ได้อยู่ที่ Inbox กรุณาตรวจสอบที่ Junk Mail)
o ในครั้งต่อไป สามารถเข้าระบบ โดยกรอกอีเมล และ รหัสผ่าน ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
ต้อง เห็นรายละเอียดชัดเจน ทุกด้าน ทั้งองค์
ควร ลงรูปทุกด้าน (หน้า หลัง ด้านข้าง ด้านบน ด้านล่าง)
ห้าม ลงรูปไม่คมชัด ไม่ละเอียด เบลอ
ห้าม วางพระเครื่อง รวมหลายๆ องค์ ในภาพเดียว
ห้าม ลงรูปพระไม่ซ้ำกันใน 1 ประกาศ
สิ่งสำคัญ: ห้ามลงพระซ้ำกับพระที่เคยลงประกาศไปแล้ว และยังแสดงอยู่ในหน้าเว็บไซด์
สินค้าที่ห้ามลงประกาศ: ชุดพระในคอ, งานทำบุญ , ข่าวพระเครื่อง, โฆษณาร้านพระ, ใบรับประกันร้านพระ, ข่าวสารพระเครื่อง, งานประกวด หรือ สินค้าอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง หากพบว่าลงพระไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามประเภท หรือ ลงสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้อง ทางเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการลบรายการพระนั้นๆ ออก โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
อ่านเพิ่มเติมที่ ลงรูปพระเครื่องแบบไหน ที่ทำให้คนเข้าชมเยอะ
- ประเภทพระ (เลือกประเภทพระ 1 รายการ) ดูรายละเอียดประเภทพระ
- ชื่อพระ
- ราคา (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- รายละเอียดพระ
- รูปพระ (ลงรูปพระได้ 1-5 รูป)
- รูปถ่ายบัตรประชาชน+หน้าสมุดบัญชีธนาคาร 1 รูป
- พื้นที่/จังหวัด
- ผู้ขาย (ชื่อ/นามสกุล)
- เบอร์โทรศัพท์ (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- Line id
สถานะ | รายละเอียด |
---|---|
รอตรวจสอบ | อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล |
ไม่ผ่านการตรวจสอบ | เนื่องจาก ภาพไม่ชัด / ข้อมูลไม่ครบ /ผิดเงื่อนไข (เช่น ลงพระซ้ำ) เมื่อไม่ ผ่านการตรวจสอบจะลบประกาศออกทันที หากต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ลงใหม่เท่านั้น |
กำลังใช้งาน | พระแสดงหน้าเว็บไซด์แล้ว จนถึงวันที่ ..../...../..... |