ต้องตรวจสอบพระ และ ตกลงเงื่อนไขการรับประกัน ให้เรียบร้อย
หากไม่เคยติดต่อ หรือรู้จักผู้ให้เช่ามาก่อน
แนะนำให้นัดดูองค์จริง
พระปิดตาพุงป่องเล็ก หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท ปี 2463
พระปิดตาพิมพ์พุงป่อง ซึ่งเป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก และมีที่สร้างเป็นเนื้อตะกั่วด้วยแต่ เท่าที่ทราบเนื้อตะกั่วมีน้อยมาก ไม่ค่อย ได้พบเห็นกันนัก พระปิดตาพิมพ์พุงป่องนี้จากประวัติความเป็นมาว่าท่านได้สร้างขึ้นมาเพื่อแจกในคราวงานศพโยมมารดาของท่านซึ่งฌาปนกิจในปี พ.ศ.2463 พระปิดตาพิมพ์พุงป่องนี้จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า สร้างด้วยส่วนผสมสำคัญหลายอย่าง เช่น เกสรดอกไม้ร้อยแปด ผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการเขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ ของหลวงปู่ ดินโป่งต่างๆ ที่พลีเอามาจากดงดิบที่มีชื่อ นอกจากนี้ ยังผสมผสานด้วยวัสดุอาถรรพ์ต่างๆอีกมาก นำมาคลุกเคล้าด้วยน้ำรักเป็น ตัวประสานยึดเกาะ การบดส่วนผสมต่างๆ นั้น โดยเฉพาะเกสรดอกไม้ไม่ค่อยละเอียดนัก ดังนั้น เวลาเราส่องดูด้วยแว่นขยายจะ เห็นมวลสารหยาบๆ ผสมอยู่ ก็เป็นจุดหนึ่งในการพิจารณาทางด้านเนื้อหา สีของพระ จะเป็นสีน้ำตาลไหม้จนถึงดำ ถ้าผ่านการใช้สัมผัสผิวจะเนียน เนื้อหาของพระพิมพ์นี้ จะเหมือนกับเนื้อหาของพระพิมพ์แจกแม่ครัว ในด้านรูปทรงนั้น พระปิดตาพิมพ์พุงป่อง จะยกมือปิดหน้าเพียงคู่เดียว ส่วนพระเศียรนั้นจะเห็นเป็นเส้นนูน ลักษณะของแขนจะมีกล้ามตรงส่วนบน มองดูคล้ายๆ กับพระปิดตาของหลวงปู่เชย วัดบางกระสอบ และหลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรง หัวเข่าทำเป็นปมใหญ่แล้วค่อยๆ เรียวเล็กลงไป นอกจากนี้ ยังมีเส้นกรอบโดยรอบ วาดเว้าเข้าหาตามสัดส่วนขององค์พระ ส่วนด้านหลังจะเป็นรอยกดพิมพ์ในการพิมพ์พระ ซึ่งก็จะโค้งเป็นแบบหลังเบี้ยเล็กน้อยบ้าง และเป็นรอยกดบ้าง คือด้านหลังจะไม่เรียบแบน จุดเด่นของพระพิมพ์นี้คือจะเห็นได้ว่า ส่วนที่เป็นท้องของพระจะพลุ้ยออกมา ชาวบ้านจึงเรียกชื่อพระพิมพ์นี้ว่า พระปิดตาพิมพ์พุงป่อง ซึ่งพระพิมพ์นี้ของหลวงปู่ศุขเป็นที่นิยมเช่าหากันมาก แต่ก็ไม่ใช่จะหาของแท้ๆ ได้ง่ายๆ ปัจจุบันหาดูได้ยากมาก สนนราคาก็จึงสูงเช่นเดียวกัน พระปิดตาของหลวงปู่ศุขท่านได้สร้างไว้หลายแบบหลายวาระด้วยกัน แต่ก็ล้วนจะหายากทั้งสิ้น ซึ่งพระปิดตาที่สร้างด้วย เนื้อผงคลุกรักอีกอย่างก็คือพระปิดตาที่นิยมเรียกกันว่า พระปิดตากรมหลวงฯ ซึ่งเป็นพระปิดตาขนาดเล็กมาก พระปิดตาเนื้อตะกั่วพิมพ์ต่างๆ ก็มี เช่น พระปิดตาพิมพ์ห้าเหลี่ยม เนื้อตะกั่ว พระปิดตาพิมพ์แขนชิด เนื้อตะกั่ว เป็นต้น ซึ่งเป็นที่นิยมทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้หาชมของแท้ได้ยาก (ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์)
o หากมีบัญชี Facebook สามารถใช้ในการสมัครสมาชิกได้
o กรอกอีเมล/เบอร์โทรศัพท์ และรหัสผ่านที่ใช้เข้า Facebook
o กด “ตกลง” ก็จะเป็นสมาชิกเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ได้ทันที
o ใส่ชื่ออีเมล และ รหัสผ่าน และ กดตกลง
o เข้าไปที่อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ ตรวจสอบอีเมลจาก prapantip@gmail.com เมื่อรับอีเมลแล้วให้กดที่ลิงค์ที่อยู่ในอีเมล เพื่อเข้าระบบ (บางครั้งอีเมล อาจไม่ได้อยู่ที่ Inbox กรุณาตรวจสอบที่ Junk Mail)
o ในครั้งต่อไป สามารถเข้าระบบ โดยกรอกอีเมล และ รหัสผ่าน ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
ต้อง เห็นรายละเอียดชัดเจน ทุกด้าน ทั้งองค์
ควร ลงรูปทุกด้าน (หน้า หลัง ด้านข้าง ด้านบน ด้านล่าง)
ห้าม ลงรูปไม่คมชัด ไม่ละเอียด เบลอ
ห้าม วางพระเครื่อง รวมหลายๆ องค์ ในภาพเดียว
ห้าม ลงรูปพระไม่ซ้ำกันใน 1 ประกาศ
สิ่งสำคัญ: ห้ามลงพระซ้ำกับพระที่เคยลงประกาศไปแล้ว และยังแสดงอยู่ในหน้าเว็บไซด์
สินค้าที่ห้ามลงประกาศ: ชุดพระในคอ, งานทำบุญ , ข่าวพระเครื่อง, โฆษณาร้านพระ, ใบรับประกันร้านพระ, ข่าวสารพระเครื่อง, งานประกวด หรือ สินค้าอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง หากพบว่าลงพระไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามประเภท หรือ ลงสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้อง ทางเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการลบรายการพระนั้นๆ ออก โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
อ่านเพิ่มเติมที่ ลงรูปพระเครื่องแบบไหน ที่ทำให้คนเข้าชมเยอะ
- ประเภทพระ (เลือกประเภทพระ 1 รายการ) ดูรายละเอียดประเภทพระ
- ชื่อพระ
- ราคา (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- รายละเอียดพระ
- รูปพระ (ลงรูปพระได้ 1-5 รูป)
- รูปถ่ายบัตรประชาชน+หน้าสมุดบัญชีธนาคาร 1 รูป
- พื้นที่/จังหวัด
- ผู้ขาย (ชื่อ/นามสกุล)
- เบอร์โทรศัพท์ (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- Line id
สถานะ | รายละเอียด |
---|---|
รอตรวจสอบ | อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล |
ไม่ผ่านการตรวจสอบ | เนื่องจาก ภาพไม่ชัด / ข้อมูลไม่ครบ /ผิดเงื่อนไข (เช่น ลงพระซ้ำ) เมื่อไม่ ผ่านการตรวจสอบจะลบประกาศออกทันที หากต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ลงใหม่เท่านั้น |
กำลังใช้งาน | พระแสดงหน้าเว็บไซด์แล้ว จนถึงวันที่ ..../...../..... |